หากพูดถึงราชาผลไม้ของประเทศไทยแล้วคงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก “ทุเรียน” ที่ตอนนี้เปนที่นิยมมากและส่งขายออกนอกประเทศปีละหลายแสนตัน ทุเรียนวันนี้กลายเป็นผลไม้อันดับต้นๆ ที่มีผู้บริโภคชื่นชอบเป็นอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะทุเรียนในวง ต.ในวงเหนือ อ.ละอุ่น จ.ระนอง เป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่มีชื่อเสียงมากทั้งด้านปริมาณและคุณภาพผลผลิตอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้ เมื่อย้อนกลับมามองที่เกษตรชาวสวนทุเรียนนั้นจะเห็นว่าการทำสวนทุเรียนเป็นงานหินพอสมควรเพราะต้องมีการจัดการดูแลค่อนข้างดีและต้องมีใจรักในการปลูกทุเรียน ซึ่งการดูแลรักษาและการพัฒนาสวนทุเรียนให้สมบูรณ์เพื่อนำมาซึ่งผลผลิตที่ดีสำหรับผู้บริโภค คุณนุชนาจ แก้วใส หรือ “พี่นวล” หลานสาวร้านเกษตรชื่อดัง “เจ๊นุการเกษตร” ที่รักในการทำสวนทุเรียนเป็นอย่างมากด้วยราคาผบผบิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้พี่นวลมีต้นทุเรียนอยู่ประมาณ 16 ไร่ อายุประมาณ 8-9 ปี มีทุเรียนทั้งหมด 190 กว่าต้น เป็นนอกฤดูปีนี้ประมาณ 130 ต้น จากทั้งหมด
ส่วนใหญ่เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เลือกเฉพาะต้นที่สมบูรณ์เต็มที่และมีความพร้อมเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ชะนีและก้านยาวเพียงไม่กี่ต้นอายุของต้นทุเรียนของพี่นวล เฉลี่ยจุอยู่ที่ 8-13 ปี ต้นนึงจึงสามารถไว้ลูกได้ 60-70 ลูก/ต้น ถ้าต้นใหญ่เเข็งแรงสามารถไว้ได้ 100-200 ลูก/ต้น น้ำหนักลูกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5 กิโลกรัม เข้าช่วงหน้าฝน สวนทุเรียนพี่นวลและสวนอื่นๆจะมีปัญหาเรื่อง “โรคไฟท็อปธอราในต้นทุเรียน” หรือที่รู้กันดีในชื่อ โรครากเน่า-โคนเน่า โรคนี้จะไม่หมดไปจากสวนทุเรียนและยังคงมีให้เห็นอยู่ตลอด ทั้งในต้นทุเรียนเดิมที่เคยเป็นและต้นทุเรียนที่พึ่งปลูกใหม่ ไม่เว้นแม้กระทั่งปีนี้สวนทุเรียนของพี่นวลโดนโรคนี้เล่นงานไปมากกว่า 30 ต้น สังเกตุได้จากใบเริ่มโทรมและเหลือง ใบเริ่มร่วงจึงต้องใช้ยาเคมีช่วยในการรักษารวมทั้งการขูดลำต้นใช้สารเคมีราดที่แผล ผลที่ได้คือต้นทุเรียนไม่ตอบสนองต่อการรักษาและยังคงโทรมลงเรื่อยๆ จนพี่นวลคิดว่าคงต้องโค่นเพื่อปลูกใหม่
จนกระทั่งมีโอกาสได้รู้จักกับ “พีครูทเตอร์” ผ่านทางตัวแทนจาก พีค อโกรฯ ที่บอกว่าสามารแก้โรคไฟท็อปธอราได้ จึงได้สอบถามคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และบอกถึงปัญหาที่เกิดกับสวนทุเรียน จึงได้เปิดใจทดลองใช้สินค้าจากทางบริษัทกับต้นทุเรียนที่เป็นไฟท็อปธอรา ที่ต้นค่อนข้างโทรม ยอดไม่เดิน ลำต้นมีน้ำยางไหลออกมา พี่นวลได้ใช้ไป 1-2 ครั้ง ในระยะเวลาเพียง 7-10 วันด้วยการผสมน้ำราดทางดิน ผสมน้ำทาที่แผล และผสมน้ำเพื่อฉีดพ่นทางใบด้วย จะเห็นว่าจากต้นทุเรียนที่มีอาการใบเหลืองเพราะระบบบรากไม่เดิน ก็ค่อยๆฟื้นตัวและเริ่มแตกใบอ่อนใหม่่เป็นใบแก่ที่สมบูรณ์และระบบรากดีขึ้น ทำให้สมารถใส่ปุ๋ยบำรรุงต้นได้ และพืชตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยได้ดีขึ้น พี่นวลจึงเปิดใจยอมรับและยืนยันว่า “พีค รูทเตอร์” โดยไม่มีข้อสงสัยเพราะทดสอบด้วยตัวเอง พี่นวลยอมรับว่า “พีครูทเตอร์” เข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้กับชาวสวนทุเรียนได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ