มารู้จักเชื้อราไตรโคเดอร์ม่ากันเถอะ!!

ภาพจาก:www.svgroup.co.th

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

เป็นเชื้อราที่มีประโยชน์สามารถควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคพืชหลายชนิด ได้แก่

1.ป้องกันโรคเน่าโคนเน่าของไม้ผล ไม้ยืนต้น ที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา (phytophthora spp.)
2.ป้องกันโรคเน่าระดับดิน ของพืขผักหลายชนิด โรคใบติดในพืชผล ที่เกิดจากเชื้อรา ไรซ็อกโทเนีย (Rhizoctonia solani)
3.ป้องกันโรคเมล็ดเน่า ของพืชผัก โรครากเน่า โรคโคนเน่าของไม้ผล เช่นทุเรียน ที่เกิดจากเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.)
4.ป้องกันโรคเหี่ยว ของพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium spp.)
5.ป้องกันโรคเหี่ยว โรคโคนเน่า ของผักหลายชนิด ที่เกิดจากเชื้อราสเคลอโรเทียม (Sclerotium rolfsii)
6.ป้องกันและกำจัดโรคไหม้ในข้าว

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคพืช

1.การใช้เพื่อป้องกันโรค (พืชยังไม่แสดงอาการของโรค) เริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ด การเตรียมต้นกล้าพืช การปลุกในสภมพธรรมชาติ จนถึงระยะพืชเจริญเติบโตให้ผลผลิต
2.การใช้เพื่อรักษาโรค (พืชแสดงอาการของโรคแล้ว) การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเพื่อรักษาพืชที่เป็นโรคแล้วนั้น มีความเป็นไปได้ ในกรณีของพืชยืนต้น เช่นไม้ผล แต่ถือว่าเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง เพราะอาจไม่ประสบผลสำเร็จดังที่คาดหวังเสมอไป จึงมีความจำเป็นต้องใช้วิธีอื่นร่วมด้วยหากมีการระบาดรุนแรง

วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

1.การคลุกเมล็ดเพื่อป้องกันดรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ โดยใส่เชื้อลงในถุงพลาสติกที่จะใช้คลุกเมล็ดอัตรา 10 กรัม หรือ 1 ช้อนแกง ต่อ เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี แล้วบีบเชื้อสดให้แตกตัว ก่อนใส่เมล็ดลงในถุง
2.การรองก้นหลุม โรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าลงในหลุมโดยต้องคลุกเคล้าเชื้อสดกับดินในหลุมก่อนนำกล้าพืชลงปลูก โดยหลุมปลูกเล็กใช้เชื้อสดอัตรา 5 ช้อนแกง หลุมปลูกใหญ่ใช้เชื้อสดอัตรา 150-300 กรัม (2-3 ขีด)

3.การผสมกับวัสดุปลูก ใช้สำหรับเพาะกล้าในกระบะเพาะเมล็ดหรือถุงเพาะชำ โดยนำเชื้อสดที่ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก (1 : 40 โดยน้ำหนัก) มา 1 ส่วน ผสกับวัสดุปลูก 4 ส่วน โดยปริมาตร ผสมเข้ากันดีแล้วจึงนำไปเพาะเมล็ด

4.การหว่านลงดิน ใช้เชื้อราไตรดคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัม รำ 4 กิโลกรัม ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 40 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน หว่านโคนต้น ใช้อัตรา 30-60 กรัม (3-6 ช้อนแกง) ต่อต้น หว่านใต้ทรงพุ่ม ใช้อัตรา 150-300 กรัม (2-3 ขีด) ต่อตารางเมตร

5.การฉีดพ่น เป็นวิธีที่สะดวก ง่ายต่อการปฏิบัติ โดยฉีดพ่นลงดินบริเวณรากพืชและส่วนบนของต้นพืช การใช้เชื้อสดผสมน้ำ จึงจำเป็นต้องกรองเอาเฉพาะน้ำเชื้ออกมา เพื่อไม่ให้เมล็ดข้าวฟ่างอุดตันหัวฉีด กรณีฉีดพ่นลงดินใช้อัตราเชื้อสด 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร พ่นส่วนบนของพืช ใช้อัตรา 2 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร

6.วิธีอื่น ๆ เช่น การให้ไปกับระบบน้ำ การทาแผล    เป็นต้น

ข้อจำกัดในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

1.สภาพแวดล้อมต้องมีความชื้นเหมาะสม ไม่ชื้นแฉะ

2.ควรใช้ในช่วงเช้าหรือเย็น เพราะในช่วงกลางวันที่มีอากาศร้อนแสงแดดจัด จะทำให้เชื้อตาย

3.ควรหลีกเลี่งการใช้สารเคมีในช่วง 7 วัน ก่อนหรือหลังการหว่านเชื้อที่ผสมแล้วลงดิน

4.ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก

 

ที่มา:www.gotoknow.org

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Call Now Button